Chapo048's Blog

Just another WordPress.com weblog

การวิเคราะห์ SWOT

ปัจจัยภายนอก

เป็นการประเมินโอกาส( Opportunitie : O) และภาวะคุกคาม( Threats : T)  ที่มีผลต่อองค์กร สรุปได้ดังนี้

โอกาส ( O)

  1. นโยบายสาธารณะ เช่นพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น( อปท.) พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ  สนับสนุนให้หน่วยงานสามารถแข่งขันกับรพ.เอกชน คลินิกแพทย์ และร้ายขายยา ได้ดี และยังเปิดโอกาสให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพในท้องถิ่นได้ดี
  2. ยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลาพัฒนา ประชามีสุข 2551 เปิดโอกาสในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบ
  3. ข้อบัญญัติขององค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นเปิดโอกาสให้ทำงานในชุมชนได้มากขึ้น
  4. อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรเป็นการประกอบเกษตรกรรมและรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีรายได้ค่อนข้างน้อย ประชาชนจึงหันมาใช้บริการของรัฐมากกว่าไปในบริการ รพ.เอกชน คลินิกแพทย์ และร้ายขายยา
  5. ลักษณะของการอาศัยประชากร กระจายอยู่ในตำบลต่างๆ ไม่ได้กระจุกตัวในเขตเทศบาล เพราะฉะนั้นประชาชนในตำบลต่างๆจะไปใช้บริการของรัฐ( สถานีอนามัย) มากกว่าจะเดินทางมาในเขตเทศบาลเพื่อใช้บริการคลินิกแพทย์ และร้ายขายยา
  6. สถานบริการของรัฐมีเครื่องมือ( คอมพิวเตอร์) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน
  7. รูปแบบการบริหารเครือข่ายทำให้ง่ายต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างสถานีอนามัยด้วยกัน  หรือ ระหว่างสถานีอนามัยกับโรงพยาบาล หรือระหว่างสถานีอนามัยกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 
  8. หน่วยงานราชการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ได้พัฒนางานทั้งในรูปแบบ CQI  หรืองานวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการให้บริการประชาชน

ภาวะคุกคาม ( T)

  1. พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ  ทำให้เกิดคู่แข่งรายใหม่ที่มีศักยภาพสูงเช่น คลินิกอบอุ่นซึ่งอาจจะมาแบ่งรายรับได้
  2. พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว ตามจำนวนประชากร ทำให้งบประมาณที่ได้จำกัดเนื่องจากประชากรผู้ขึ้นทะเบียนน้อย
  3. พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ  จะทำให้ประชาชนเรียกร้องสิทธิตนเองมากขึ้น
  4. เนื่องจากประชาชนมีรายได้ค่อนข้างน้อยไม่มีเวลาดูแลสุขภาพอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
  5. เนื่องจากการประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เวลาในการใช้บริการไม่ตรงกับเวลาราชการ หรือมีสิทธิประกันสังคมที่สามารถไปใช้ที่โรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกแพทย์ ช่วงนอกเวลาราชการ
  6. เทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่จะน้อยกว่าของเอกชน อาจทำให้ประชาชนหันไปใช้บริการได้
  7. บางครั้งจะมีนโยบายเร่งด่วนจากกระทรวงนอกเหนือจากแผนที่วางไว้

 ปัจจัยภายใน

เป็นการประเมินหาจุดแข็ง(Strength : S) และ จุดอ่อน( Weaknesses : W) ขององค์การ สรุปได้ดังนี้

จุดแข็ง( S )

  1. กลยุทธ์และโครงสร้างเชิงกลยุทธ์ ของเครือข่ายสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรมเป็นไปตามยุทธศาสตร์จังหวัด  และกระทรวง
  2. ผู้นำและคณะกรรมการบริหารสามารถนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจ
  3. มีคณะทำงานตามยุทธศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสถานีอนามัย
  4. การให้บริการทางการแพทย์มีทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และการให้บริการแพทย์แผนไทย( นวด และการใช้ยาสมุนไพร)
  5. ค่าใช้จ่ายของผู้มารับบริการ อาจจะไม่ต้องเสียค่าบริการเลย
  6. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มีความรู้และทักษะในการให้บริการเป็นอย่างดี
  7. เจ้าหน้าที่ทุกคนมีค่านิยมองค์การร่วมกัน คือ การให้ประชาชนมีสุขภาวะดี และพึ่งพอใจในบริการ
  8. มีระบบบริการทั้งในสถานบริการและในชุมชน มีการเยี่ยมเยียนถึงครัวเรือน
  9. มีหน่วยสนับสนุนระบบริการ ทั้งความรู้  ทรัพยากร
  10. มีระบบการนิเทศติดตาม เพื่อให้การให้บริการมีคุณภาพ

จุดอ่อน

  1. จำนวนบุคลากรต่อประชากรยังไม่เพียงพอ
  2. การนำงานสนับสนุนระบบบริการบางอย่างล่าช้าเพราะต้องรองบประมาณจากเขต เพราะวงเงินสูง เช่น ระบบการจัดส่งเวชภัณฑ์ให้สถานีอนามัย  การกำจัดขยะติดเชื้อของเครือข่าย
  3. การบริหารการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถดำเนินการได้
  4. ขาดทักษะในการบริหารเชิงกลยุทธ์ทำให้ การบูรณาการแผนกลยุทธไม่สอดคล้องการปฏิบัติงานจริง
  5. ทักษะในการจัดการข้อมูลและ การสื่อสาร ยังไม่ดี   
  6. ไม่มีวิธีหรือกระบวนที่จะช่วยเพิ่มรายรับ
  7. ขาดการประสานกับหน่วยงานอื่นๆ

No comments yet»

ใส่ความเห็น